แคตตาล็อกออนไลน์

ผู้ผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง HOLLOW CORE ผู้ผลิตเจ้าแรกในประเทศไทย ประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 37 ปี และผลงานกว่า 29 ล้านตารางเมตร ได้รับมาตรฐาน มอก. และออกแบบตามมาตรฐานอเมริกา โทร 02-455-0151

 

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดรูกลวง (Hollow-Core Slab)

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดรูกลวงนั้นเป็นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีช่องว่าง ลักษณะกลวง โดยการใช้แผ่นคอนกรีตที่มีลักษณะเฉพาะนี้ นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการก่อสร้างแล้ว ยังจะช่วยลดน้ำหนักโดยรวมของโครงสร้างอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของแผ่นคอนกรีตแบบนี้จะช่วยลดเวลาการเจาะพื้นเพื่อเดินระบบไฟฟ้า และเครื่องจักรต่างๆ อีกด้วย

โดยหลักๆ แล้ว แผ่นคอนกรีตนี้จะใช้เป็นพื้น เป็นระบบชั้นดาดฟ้า แผ่นผนัง และพื้นท้องสะพานได้ VCON ใช้ระบบคอนกรีตที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีการขึ้นรูปทั้งแบบคงที่หรือแบบที่แนบติดกับเครื่องจักรกับการเปลี่ยนรูปแบบ ของด้านต่างๆ VCON ยังมีชื่อเสียงในด้านการจัดการระบบพื้นและหลังคา ที่ประหยัด และมีประสิทธิภาพ โดยพื้นผิวชั้นบนสุดสามารถเตรียมการติดตั้งบนพื้น ที่ครอบคลุมโดยการเชื่อมต่อของ
น้ำยางซีเมนต์ติดตั้งเข้ากับส่วนผสมคอนกรีตแบบเติมเต็ม

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

1) มีน้ำหนักเบา

แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปของ VCON นั้นเป็นคอนกรีตเสริมด้วยลวดอัดแรง ใช้เป็นโครงสร้างพื้นของอาคารทั่วไป มีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับ โครงสร้างพื้นแบบอื่นๆ ใช้รับน้ำหนักได้ทันทีและทนต่อแรงกดทับได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งก่อสร้างชั่วคราวรองรับ มีความกว้างทั่วไปประมาณ 1.20 เมตรในขณะที่ความหนาและความยาวจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของงานและขนาดของคาน

2) ป้องกันเสียงและอุณหภูมิ

การทนไฟได้ดีเยี่ยมถือเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของผลิตภัณฑ์ด้วย โดยสามารถทนได้มากที่สุดถึง 4 ชั่วโมง นอกจากนี้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ยังสามารถช่วยลดการกระจายคลื่นเสียงและอุณหภูมิได้ แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปนี้ยังมีลักษณะของการส่งกระจายเสียงที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งขั้นการสูญเสียการส่งผ่านเสียงอยู่ในช่วงประมาน 47-57 เดซิเบล โดยที่ไม่มีคอนกรีตทับหน้า และแบบมีฉนวนกันความร้อนนั้นค่าอยู่ที่ประมาณ 23 เดซิเบล และอาจเพิ่มขึ้นถึง 70 เดซิเบล สำหรับแผ่นเปล่า

 

การใช้งาน

1) การหล่อเสาของอาคาร

เนื่องจากการติดตั้งของแผ่นพื้น Hollow Core นั้น จะทำเป็นชั้น ๆ ไปตามการก่อสร้าง อาคาร เมื่อผู้ก่อสร้างได้หล่อคานของชั้นที่จะติดตั้งแผ่นพื้นเสร็จส่วนหนึ่งหรือเสร็จ ทั้งชั้น ผู้ติดตั้งแผ่นพื้นจึงจะเข้าติดตั้งในชั้นนั้นหรือบางส่วนของชั้นให้เสร็จแล้ว ผู้ก่อสร้างจึงจะหล่อเสาของชั้นถัดไป ในขณะที่ยังไม่ได้ติดตั้งแผ่นพื้นไม่ควร หล่อเสาในชั้นถัดไป เพียงแต่โผล่เหล็กเสาไว้เท่านั้น เนื่องจากในทางปฏิบัติ เสาที่หล่อแล้ว อาจผิดขนาดจากแบบแปลน ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อยช่องบากเข้าเสาของแผ่นพื้นก็อาจ ไม่สามารถวางลงได้ นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งกีดขวางการติดตั้งแผ่นพื้นที่ยกขึ้นอาจลอย ไปกระแทก ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

หมายเหตุ โดยทั่วไป หากไม่มีอุปสรรคใด ๆ งานติดตั้งแผ่นพื้นสามารถทำได้ประมาณ 400 m² ต่อวัน

2) การจัดเตรียมสถานที่กองสะสม

หลังจากได้วางแผนงานก่อสร้างแล้ว ต้องส่งแผนงานนี้ทั้งแปลนอาคาร กำหนดตำแหน่งและวันที่จะให้พื้นสำเร็จรูปเข้าติดตั้ง การเข้าติดตั้งแต่ละครั้งควรมีพื้นที่พร้อมที่จะให้ติดตั้งได้สะดวก มีบริเวณที่รถแผ่นและรถเครนเข้าได้ เมื่อต้องการให้พื้นเข้าติดตั้งภายในของอาคาร ท่านควรจัดเตรียมสถานที่กองสะสมพื้นตามแนวอาคารของด้านนั้น พร้อมทั้งบดอัดถนนให้แข็งแรงพอที่จะให้รถบรรทุกแผ่นพื้นและ รถเครนเข้าได้ โดยใกล้เคียงกับแนวอาคารเพื่อที่รถเครนจะสามารถหยิบยก เพื่อความสะดวกต่อการติดตั้งพื้น ที่กองสะสมนี้จะต้องไม่มีสิ่งของหรือวัสดุก่อสร้างใด ๆ กีดขวางในกรณีที่ผู้ก่อสร้างจำเป็นต้องกองวัสดุตามแนวอาคาร ท่านอาจเว้นที่กองสะสมพื้นเป็นช่วง ๆ ก็ได้ การเตรียมองสะสมพื้นนี้ต้องเตรียมล่วงหน้าก่อนวันจัดส่ง อย่างน้อย2 วัน และต้องแจ้งให้ทาง ผู้ผลิตทราบ เพื่อจัดขนส่งแผ่นพื้นเข้ากองสะสมหน้างานไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันจัดส่ง

หมายเหตุ ในกรณีที่สถานที่คับแคบ อาจยกแผ่นพื้นจากรถขึ้นติดตั้ง โดยไม่ต้องกองสะสมเลยก็ได้

3) ควรเตรียมคานรองรับแผ่นพื้น Hollow Core

– คานจะต้องมีแนว (Alignment) ที่ถูกต้อง ค่าความคลาดเคลื่อน +/- 2 ซม.

– คานจะต้องมีระดับ (Level) หลังคานที่ถูกต้องและราบเรียบ

– คานจะต้องมีความราบเรียบที่ผิวหลังคานอย่างสม่ำเสมอตลอดแนวคาน ความราบเรียบนี้หมายถึงราบเรียบใกล้เคียงกับการฉาบปูนที่ได้มาตรฐาน ในทางปฏิบัติ ในขณะเทคานควรให้ช่างใช้เกรียงปาดและฉาบหลังคานให้เรียบมากที่สุด ทั้งนี้ ควรคำนึงเสมอว่าหากหลังคานราบเรียบมากเท่าใด แผ่นพื้นย่อมรับน้ำหนักได้ดีเท่านั้น

4) คานที่ประกบด้านข้างของแผ่นพื้น

จะต้องมีขนาดความกว้างของคานที่ถูกต้องตามแปลนไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่นเหล็กหรือเศษคอนกรีตขรุขระติดด้านข้างคาน ในทางปฏิบัติที่เหมาะสมควรให้ส่วนที่แผ่นพื้นชิดมีส่วนแคบกว่าส่วนหลวมประมาณ 2 ซม. หรือจะทำการหล่อคานนี้ภายหลังจากการติดตั้งแผ่นพื้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะสะดวกที่สุด

5) ขั้นตอนการวางพื้นสำเร็จรูป Hollow Core

– เมื่อจะเข้าทำการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป ผู้ก่อสร้างควรที่จะเช็คและตรวจสอบปรับระดับหลังคานที่จะวางแผ่นพื้นให้ได้ระดับและความสะอาดเสียก่อน เพื่อจะวางแผ่นพื้นได้สะดวก รวดเร็ว และเพื่อป้องกันการแตกร้าวของแผ่นพื้นด้วย

– นำแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาจัดวางเรียงชิดกันโดยตลอดตามแบบที่ระบุไว้และถ้ามีเชียร์คีย์ (Shear Key)ควรจะเชื่อมก่อน ต่อจากนั้นควรยาร่องรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีเศษวัสดุตกลงในร่อง ซึ่งยุ่งยากต่อการเก็บขึ้นในภายหลัง

– ผูกเหล็กตะแกรงขนาด 6 มม. เป็นตะแกรงระยะห่าง # 0.20 ม. ที่ส่วนบน แล้วเทคอนกรีตทับหน้า (Topping) หนาตามแบบที่กำหนด ใช้อัตราส่วน 1:2:4 โดยปริมาตรและให้มีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 240 กก./ซม.2 แล้วปาดหน้าให้เรียบ หรือขูดสากหากจะปูกระเบื้อง

– หลังจากเทคอนกรีตทับหน้าแล้ว ควรบ่มน้ำหรือบ่มวิธีอื่น ๆ ต่อไป อย่างน้อย 24 ชม.

6) การยาร่อง (Grouting)

ทำโดยผู้ก่อสร้าง การยาร่อง คือ การอุดรอยต่อตามความยาวเรียงกันระหว่างแผ่นพื้น วัสดุที่ใช้ในการยาร่อง คือ Mortar ซึ่งเป็นส่วนผสมของปูนซีเมนต์ น้ำ และทราย ในอัตราส่วน1:1:4 โดยปริมาตรการยาร่องนี้ให้ประโยชน์มากในการกระจายน้ำหนักระหว่างแผ่นพื้นสำเร็จรูป ขั้นตอนการยาร่องควรดำเนินการ ดังนี้

– ทำความสะอาดร่อง และเก็บเศษวัสดุอื่น ๆ ออกจากร่อง

– ราดน้ำลงในร่อง เพื่อให้ร่องเปียกและสะอาด

– กรอก Mortar ลงในร่องและใช้เกรียงแทงให้เต็มร่อง แล้วปาดปากร่องให้เรียบ ในขณะเดียวกัน ควรมีช่างแต่งรอยต่อด้านใต้แผ่นพื้นขณะที่ Mortar
ยังเปียกอยู่จะสะดวก รวดเร็ว และสวยงามกว่าการทำหลังจาก Mortar แข็งตัวแล้ว

– ในกรณีที่เป็นพื้นชั้นดาดฟ้า ควรทำการยาร่องนำหน้าก่อนการเทคอนกรีตทับหน้าไม่เกิน 30 นาที ทั้งนี้ เพื่อให้ Mortar เป็นเนื้อเดียวกับคอนกรีตทับหน้า ซึ่งจะช่วยกันน้ำซึมผ่านร่องได้ดียิ่งขึ้น

7) การวางเหล็กตะแกรง

เมื่อทำการจัดวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปและทำการยาแนวร่องระหว่างแผ่นพื้นด้วย Mortar เสร็จแล้วควรปัดกวาดเศษวัสดุที่อยู่บนพื้นออกให้หมด แล้วจึงจัดวางเหล็กตะแกรงและเหล็กเสริมพิเศษอื่นใดที่กำหนดไว้ ก่อนทำการเทคอนกรีตทับหน้า

8) การเทคอนกรีตทับหน้า (Concrete Topping)

เมื่อทำการจัดวางเหล็กตะแกรงเสร็จเรียบร้อยตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ให้ทำความสะอาดแผ่นพื้นอีกครั้งโดยการฉีดน้ำเพื่อล้างเศษวัสดุต่าง ๆ อีกครั้ง จากนั้นให้เทคอนกรีตทับหน้าหนาตามแบบกำหนด

9) การเทคอนกรีตทับหน้าพื้นหลังคาหรือดาดฟ้า

เนื่องจากหลังคาหรือดาดฟ้าเป็นส่วนที่ต้องถูกแสงแดด ถูกฝน(ได้รับความร้อนจัดและ เย็นจัดในทันที) จึงมักทำให้เกิดรอยแตกร้าว จึงควรปฏิบัติก่อนการ เทคอนกรีตทับหน้า ดังนี้

– คอนกรีตทับหน้าควรเทให้หนากว่าปกติ ส่วนที่บางที่สุดไม่ควรน้อยกว่า 5 ซม. และผสมน้ำยากันซึม ควรใช้ Slump ต่ำเพื่อลดการแตกร้าวจากการหดตัวของผิวคอนกรีต เหล็กเสริมในคอนกรีตทับหน้าควรถี่ขึ้น และระมัดระวังในการวางตำแหน่งเหล็กเสริมกันแตกให้ใกล้ผิวบนมากที่สุด (ระยะห่างจากเหล็กถึงผิวบน ไม่ควรเกิน2 ซม.) เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ บริเวณผิวบน

– ควรยาร่อง Mortar ให้เต็มล่วงหน้าก่อนเทคอนกรีตทับหน้า ไม่เกิน 30 นาที (ไม่ควรใช้วิธีเทคอนกรีตทับหน้า แล้วให้ไหลลงไป)

– ต้องปรับความลาดเอียง (Slope) ให้ดี อย่าให้น้ำขังได้

– ควรบ่มคอนกรีตอยู่ตลอดเวลา ประมาณ 7 วัน


โปรดขอรายละเอียดหรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม